วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

จำหน่ายของฝากจังหวัดสุรินทร์ ปลีก-ส่ง

จำหน่ายสินค้าโอทอปของฝากจังหวัดสุรินทร์ ปลีก-ส่ง

สินค้าภูมิปัญญาชาวบ้านของจังหวัดสุรินทร์


พวงกุญแจอัก มีความยาว 3.5 ซม. กว้าง 1.5 ซม. ตัวไหมเป็นไหมแท้ ตัวไม้เป็นไม้แท้    (ไม้ทนง)
1 อัน 25 บ. เป็นแพ็คมี 6 อัน ราคา 100 บ.

ผ้าคลุมไหล่ราคาผืนละ 250 บาท
กระเป๋าเงินทำจากไหมเทียม ราคา 30 บาท

                          พวงกุญแจกระสวย ไหมเป็นไหมแท้ ไม้เป็นไม้แท้  ความยาว 7.3 ซม.                          1 อัน 12 บ. เป็นแพ็คมี 10 อัน ราคา 100 บ.


เป็นรูปการชุมนุมช้างครั้งแรกของจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ.๒๔๙๘
ภาพเล็กความยาว 33.3 ซม. ความกว้าง 14.5 ซม.  ราคา 220 บ.
ภาพใหญ่ความยาว  61.2 ซม. ความกว้าง 25.7 ซม.  ราคา 320 บ. 
กระเป๋าผ้าไหมลายดอกพิกุลสีม่วงดิ้นทอง
Lady Hand Bag Silk Violet PIKUL Pattern
                                                              ราคา 1,180 บาท
กล่องกระดาษเช็ดชู้ทำจากเสื่อกก ราคา250 บาท

จำหน่ายผ้าไหมสุรินทร์ ปลีก-ส่ง


Marisaloveshop Surin

จำหน่ายผ้าไหมสุรินทร์ทั้งปลีกและส่ง
            เครื่องแต่งกายผ้าไหมมัดหมี่ทอมือของชาวสุรินทร์ สนใจสอบถามราคาได้ค่ะ 



ผ้าไหมมัดหมี่ 6 ตะกอขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตรใช้นุ่งหรือคลุมไหล่ได้สนใจสอบถามได้น่ะค่ะ  (ทุกผืนนี้เป็นสินค้าโอทอป 5 ดาวคะ) ราคาผืนล่ะ 3,500 บาท 


ผ้าไหมมัดหมี่ 2 ตะกอคัดสรรได้ระดับ 5ดาวขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตรทอจากไหมเส้นเล็ก เนื้อนิ่มมากคะราคาผืนละ 2,300บาท สินค้าพร้อมส่งคะ

ผ้าไหมมัดหมี่ 6 ตะกอ ยกลายดอกพิกุล 100% ทอมือ ทุกผืน ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร อาบน้ำยาเรียบร้อยแล้ว สินค้าพร้อมส่งค่ะ 
ผ้าไหมมัดหมี่ 5 ตะกอยกลายพริกไทยขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร มีหน้านาง มีชายครุย นุ่งหรือคลุมไหล่ได้ สินค้าโอทอป 5 ดาวราคา3,800 บาท




ผ้าไหมสุรินทร์ (Surin Thai Silk)

ประวัติความเป็นมา


จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมมานานและได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมานานจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่น่สนใจยิ่งหากศึกษาอย่างลึกซึ่งแล้ว จะค้นพบเหตุผลหลายประการที่สนับสนุนว่า จังหวัดสุรินทร์มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองในเรื่องผ้าไหม ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการทอ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายของผ้าไหม การผลิตเส้นไหมน้อย และกรรมวิธีการทอ
ผ้าไหมสุรินทร์

ผ้าไหมสุรินทร์

จังหวัดสุรินทร์นิยมนำเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย (ภาษาเขมร เรียก “โซกซัก”) มาใช้ในการทอผ้า ไหมน้อยจะมีลักษณะเป็นผ้าไหมเส้นเล็ก เรียบ นิ่ม เวลาสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบาย นอกจากนี้การทอผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์ ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน และเป็นกรรมวิธีที่ยาก ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชำนาญจริง เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า มีการทอที่เดียวใบประเทศไทย จนเป็นที่สนพระทัยและเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงรับสั่งว่า ใส่แล้วเย็นสบาย อีกทั้งยังใช้ฝีมือในการทออีกด้วย

ลักษณะเด่นของผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์
1. มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชา และลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล
2. นิยมใช้ไหมน้อยในการทอ ซึ่งไหมน้อยคือไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหม มีลักษณะนุ่ม เรียบ เงางาม
3. นิยมใช้สีธรรมชาติในการทอ ทำให้มีสีไม่ฉูดฉาด มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะ คือ สีจะออกโทนสีขรึม เช่นน้ำตาล แดง เขียว ดำ เหลือง อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมจากเปลือกไม้ 4. ฝีมือการทอ จะทอแน่นมีความละเอียดอ่อนในการทอและประณีต รู้จักผสมผสานลวดลายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แสดงถึงศิลปที่สวยงามกว่าปกติ5. แต่เดิมนั้นการทอผ้าไหมของชาวบ้านทำเพื่อไว้ใช้เอง และสวมใส่ในงานทำบุญและงานพิธีต่างๆ
การทอจะทำหลังจากสิ้นสุดฤดูกาลทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก มิได้มีการทอเพื่อจำหน่ายแต่อย่างใด จนมีคำกล่าวทั่วไปว่า “พอหมดหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก
แหล่งผลิตผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์ จึงมีเกือบทุกหมู่บ้าน ผู้สนใจสามารถไปชมกรรมวิธีการเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมจากแหล่งต่าง ๆ ได้มากมายหลายแห่ง ลายผ้าไหมของชาวสุรินทร์ มีผู้จัดประเภทตามลักษณะการทอได้ 6 ประเภท 


กรรมวิธีการทำผ้าไหมไทย

  • การเลี้ยงไหม
วงจรชีวิตของไหมหรือหนอนไหมใช้เวลาประมาณ 45 - 52 วัน หนอนไหมจะกินใบหม่อนหลังจากฟักออกจากไข่ประมาณ
วันที่ 10 จากนั้นจะหยุดกินอาหารและลอกคราบ ระยะนี้เรียกว่า “ ไหมนอน ” ต่อจากนั้นจะกินนอนและลอกคราบประมาณ 4
ครั้งเรียกว่า “ ไหมตื่น ” ลำตัวจะมีสีขาวเหลืองใสหดสั้น และหยุดกินอาหาร ระยะนี้เรียกว่า “ หนอนสุก ” ช่วงนี้ผู้เลี้ยงไหม
ต้องรีบแยกหนอนไหมสุกออกจากกองใบหม่อน และเตรียม “ จ่อ ” คืออุปกรณ์ที่จะให้ตัวไหมเกาะเพื่อชักใยห่อหุ้มตัว
หนอนจะเริ่มพ่นใยได้ประมาณ 6-7 วัน ก็จะสามารถเก็บรังไหมออกจากจ่อได้ เส้นใยของหนอนเกิดจากการขับของเหลว
ชนิดหนึ่ง มีสารโปร่งแสงเป็นองค์ประกอบ ใยไหมที่เห็นแต่ละเส้นจะประกอบด้วยเส้นใยเล็กๆ สองเส้นรวมกัน สามารถฉีก
แยกออกจากกันได้ ทั้งนี้รังไหมแต่ละรังจะให้สายไหมที่มีขนาดแตกต่างกัน ชั้นนอกสุดของรังจะมีความละเอียดพอสมควร
ชั้นกลางจะเป็นเส้นหยาบและชั้นในสุดจะเป็นเส้นไหมที่ละเอียดที่สุด ซึ่งหนอนไหมแต่ละตัวจะชักใยยาวไม่เท่ากัน อาจสาว
ได้ยาวตั้งแต่ 350 - 1,200
หนอนไหมจะเจาะรังออกมาเป็นผีเสื้อเมื่ออยู่ในรังครบ 10 วัน ซึ่งผู้เลี้ยงจะคัดไหมที่สมบูรณ์ไว้ทำพันธุ์ ส่วนที่เหลือนำไปสาวไหมก่อนที่ผีเสื้อจะเจาะรังออกมา ซึ่งเส้นจะขาดและทำเส้นไหม
การเลี้ยงไหม
  • การสาวไหม
การสาวไหม

เมื่อได้รับไหมสดจะต้องนำไปอบให้แห้ง จากนั้น
นำไหมที่อบแห้งไปต้มในน้ำที่สะอาดที่มีคุณสมบัติ
เป็นกลาง รังไหมจะเริ่มพองตัวออก ใช้ปลายไม้เกี่ยว
เส้นใยออกมารวมกันหลายๆ เส้น การสาวต้องเริ่มต้น
จากขุยรอบนอกและเส้นใยภายในรวมกัน เรียกว่า
“ ไหมสาว ” หรือ “ ไหมเปลือก ” ครั้นสาวถึงเส้นใย
ภายในแล้ว เอารังไหมที่มีเส้นภายในแยกไปสาวต่าง
การสาวไหม

หากเรียกว่า “ เส้นไหมน้อย ”
  • การตีเกลียว
การ ตีเกลียวไหมจะช่วยทำให้ผ้าที่จะทอมีความหนา หลังจากเอาไหมสองไหมสามออก ใช้ไม้คีบลักษณะคล้ายไม้พาย มีร่องกลางสำหรับคีบ เกลี่ยรังไหมกดให้เส้นไหมตีเกลียวแน่นดูเล็ก ต้องระมัดระวังและต้องอาศัยความชำนาญ และมีเทคนิคในการทำให้รังที่ต้มเกาะกันเป็นเส้นตามขนาดที่ต้องการ ทำให้เส้นไหมพันหรือไขว้กันหลายๆ รอบ แล้วพักไว้ในกระบุง
ต่อ จากนั้นจะนำมากรอเข้า “ กง ” แล้วนำไปหมุนเข้า “ อัก ” เพื่อตรวจหาปุ่มปม หรือตัดแต่งเส้นไหมที่ไม่เท่ากันออก จึงเอาเข้าเครื่องปั่นเพื่อให้เส้นไหมแน่นขึ้น ก่อนที่จะหมุนเข้ากงอีกครั้ง เพื่อรวมเป็นไจ ซึ่งหนึ่งไจจะต้องหมุนกง 80 รอบ เรียกว่า “ ไหมดิบ ”
เส้น ไหมดิบที่ได้จะต้องทำการชุบให้อ่อนตัว โดยนำไปชุบน้ำสบู่อ่อนๆ ประมาณ 15-20 นาที แล้วนำไปสลัดและผึ่งลมให้แห้ง โดยหมั่นกระตุกให้เส้นไหมแยกตัวเพื่อนำไปเข้าระวิงได้
จาก นั้นก็กรอเส้นไหมเข้าหลอดๆ ละเส้น แล้วดึงปลายไหมแต่ละหลอดเข้าไปรวมกัน ม้วนเข้าหลอดควบตามขนาดที่ต้องการ จากนั้นก็นำไปตีเกลียวประมาณ 330 รอบ ต่อความยาว 1 เมตร จากนั้นก็นำไหมไปนึ่งหรือลวก เพื่อป้องกันมิให้เกลียวเส้นไหมหมุนกลับ หลังจากนั้นก็จะชุบน้ำเย็นแล้วกรอเข้าระวิง เรียกว่า “ ทำเข็ด ” ซึ่งจะทำให้เกลียวอยู่ตัว
  • การย้อมสี
การ ย้อมสีไหมจะต้องนำไหมดิบมาฟอกเพื่อไม่ให้มีไขมันเกาะ โดยจะใช้ด่างจากขี้เถ้าไปฟอกไหม เรียกว่า “ การดองไหม ” จะทำให้เส้นไหมขาวนวลขึ้น แล้วจึงนำไปย้อม ในสมัยก่อนนิยมใช้สีจากธรรมชาติ เช่น สีแดงจากครั่ง , ผลและใบคำแสด , รากยอป่า , มะไฟป่า หรือรากของต้นเข็ม สีเหลืองจากแก่นของต้นเข สีจำปาหรือสีส้มจากดอกคำแสดหรือดอกกรรณิการ์ สีน้ำเงินจากต้นคราม สีเขียวจากเปลือกไม้มะหูด สีเขียวมะกอกจากแก่นไม้ขนุน เปลือกนนทรีและเปลือกต้นตะแบก สีไพลจากใบสัปปะรดอ่อนกับน้ำมะนาว สีน้ำตาลจะต้นหมาก สีม่วงจากต้นหว้า สีดำจากมะเกลือ , รากต้นชะพลูและสมอ แต่ปัจจุบันการย้อมด้วยสีธรรมชาติเริ่มหายไป เนื่องจากมีสีวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่ ที่หาซื้อง่ายตามร้านขายเส้นไหมหรือผ้าไหม เมื่อละลายน้ำจะแตกตัว ย้อมง่าย สีสดใส ราคาค่อนข้างถูก ทนต่อการซักค ?; อนข้างดี
การ ย้อมด้วยสีธรรมชาติมีข้อดี คือ สีไม่ฉูดฉาด สีอ่อนเย็นตากว่าสีสังเคราะห์ จึงทำให้สีของผ้างดงามสัมพันธ์กับรูปแบบของผ้าพื้นเมือง สีธรรมชาติจะติดสีได้ดีในเส้นไหมและฝ้าย วิธีย้อมคือ การนำคั้นเอาน้ำจากพืชที่ให้สีนั้นๆ ต้มให้เดือด จากนั้นนำไหมชุบน้ำให้เปียกบิดพอหมาด กระตุกให้เส้นไหมเรียงเส้นจึงแช่ในน้ำย้อมสี นำไปผึ่งให้แห้ง จะได้ไหมสีตามต้องการ
  • การทอผ้า
ขั้น ตอนสุดท้ายก่อนที่จะออกมาเป็นผ้าผืนงาม การทอผ้าไหมจะประกอบไปด้วยเส้นด้าย 2 ชุด คือ “ เส้นด้ายยืน ” จะขึงไปตามความยาวผ้าอยู่ติดในเครื่องทอ หรือแกนม้วนด้านยืน อีกชนิดหนึ่งคือ “ เส้นด้ายพุ่ง ” จะถูกกรอเข้ากระสวย เพื่อให้กระสวยเป็นตัวนำเส้นด้ายพุ่งสอดขัดเส้นด้ายยืนเป็นมุมฉาก ทอสลับกันไปตลอดความยาวของผืนผ้า การสอดด้ายพุ่งแต่ละเส้นต้องสอดให้สุดถึงริมแต่ละด้าน แล้วจึงวกกลับมา จะทำให้เกิดริมผ้าเป็นเส้นตรงทั้งสองด้าน ส่วนลวดลายของผ้านั้น ขึ้นอยู่กับการวางลายผ้าของแต่ละท้องถิ่น

การทอผ้าไหม

การทอผ้าไหม
ผ้าไหมสุรินทร์ลายต่างๆ




กระเป๋าผลิตจากผ้าไหมสุรินทร์














วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

งานประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ จังหวัดสุรินทร์


ประเพณีแซนโฎนตา






งานประเพณีแซนโฎนตา ชาวสุรินทร์ร่วมกันประกอบพิธีแซนโฏนตา บูชาบรรพบุรุษยิ่งใหญ่ เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ บรรพบุรุษ ประเพณีที่มีความสำคัญ ของชาวไทยเชื้อสายเขมร และชาวกูย ในจังหวัดสุรินทร์ ที่ถือปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนานนับพันปี

งานประเพณีแซนโฎนตา จังหวัดสุรินทร์
งานประเพณีแซนโฎนตา นับเป็นงานประเพณีที่สำคัญของชาวจังหวัดสุรินทร์ โดยจะมีการถือปฏิบัติขึ้นทุกปี เป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และเป็นการแสดงออกถึงความรัก ความเอื้ออาทรต่อบุพการีผู้มีพระคุณ โดยถือกำหนดจัดขึ้นในแรม 14 เดือน 10 โดยชาวสุรินทร์เมื่อถึงวันจะพร้อมใจกันหยุดภาระกิจการงานและจะร่วมกันเซ่น ไหว้ขึ้นที่บ้านแต่ละบ้าน โดยยึดบ้านที่อาวุโสที่สุดของครอบครัว





ชาวสุรินทร์เชื้อสายเขมร เชื่อว่า การประกอบ
ประเพณีแซนโฎนตา เป็นการที่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป เชื่อว่าทำให้ทุกข์เวทนาจากบวงกรรมมีความบรรเทาเบาบางลง จึงให้มีการจัดพิธีแซนโฎนตา ขึ้นและให้มีการสืบทอดต่อๆกันมา ลูกหลานต้องปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันมาถึงทุกวันนี้ ถ้าญาติหรือลูกหลานประกอบพิธีแซนโฎนตา และทำบุญอุทิศให้ เชื่อว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จมี เงินมีทองใช้ แต่ถ้าไม่ทำพิธีแซนโฎนตา ญาติที่ล่วงลับไป ก็จะโกรธและสาปแช่งญาติหรือลูกหลานไม่ให้มีความสุขความเจริญประกอบอาชีพฝืด เคือง ไม่ราบรื่น ดังนั้นลูกหลานของชาวไทยเชื้อสายเขมรทุกรุ่นจึงต้องประกอบพิธีแซนโฎนตามา ทุกปีจนถึงปัจจุบันนี้

พิธีแซนโฎนตา
  
ซ่นไหว้บูชาบรรพบุรุษ ประกอบด้วยพิธีการทางศาสนา กราบพระ การบูชาพระรัตนตรัย จากนั้นเป็นการรำเซ่นไหว้ บูชาบรรพบุรุษ และพิธีแซนโฎนตา เซ่นไหว้ บรรพบุรุษ โดยชาวจังหวัดสุรินทร์ ที่นำเครื่องเซ่นไหว้ มาร่วมพิธี ก็จะจุด เทียน ธูป เซ่นไหว้ บรรพบุรุษ ด้วยการเทเหล้า น้ำหวาน น้ำดื่ม พร้อมเรียก ดวงวิญญาณ ของบรรพบุรุษ มารับอาหารที่ลูกหลาน ได้นำมาเซ่นไหว้ จากนั้นพระสงฆ์ ได้สวดมาติกา บังสุกุล เป็นอุทิศส่วนกุศล ให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว ต่อจากนั้น พระสงฆ์ได้ให้พร แก่ญาติโยมที่มาร่วมพิธีแซนโฎนตา เซ่นไหว้บรรพบุรุษ เป็นอันเสร็จพิธี
ของที่ใช้เส้นไหว้บรรพบุรุษ



วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง


หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง




  •     หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชน ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมือง       จังหวัดสุรินทร์




ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ผัก   มีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพ หลากหลายกลุ่ม โดยคนในหมู่บ้านมีการร่วมกันเป็นสมาชิกกลุ่มกองทุนต่าง ๆ  ได้แก่   กลุ่มออมเงินสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิต    กองทุนหมู่บ้าน   กลุ่มอาชีพแม่บ้าน    กลุ่มเกษตรกร   และได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจาก อบต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้บ้านวังกุ่ม  ยังมีกิจกรรมที่สามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว เช่น  การปลูกพืชผักสวนครัว     การเพาะเห็ดฟาง  การปลูกผัก    การเลี้ยงปลา  การเลี้ยงเป็ดไข่  ห่าน  กระต่าย   สำหรับบริโภคหรือ นำไปขาย   การทำจักสาน   น้ำพริก   ปุ๋ยหมักชีวภาพ   และยังมีการปลูกต้นไม้ตามลำคลองน้ำ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ





หมู่บ้านได้ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำรงชีวิต 
  1. ด้านการลดรายจ่าย โดยการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกผัก ผลไม้ไว้บริโภค และมีเหลือจะนำไปขาย หรือแปรรูปไว้บริโภคและจำหน่าย  และมีการรวมกลุ่มเพื่อผลิตปุ๋ยชีวภาพ   น้ำส้มควันไม้ในการไล่แมลง   เพื่อเป็นลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ยังเป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด รณรงค์การลด ละ เลิก อบายมุข  และมีการจัดทำบัญชีรับ – จ่ายครัวเรือนเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
  2. ด้านการเพิ่มรายได้   มีการส่งเสริมครัวเรือนให้ประกอบอาชีพเสริม เช่น ทำนาและทำไร่ผัก  มีการรวมกลุ่มมีการส่งเสริมให้มีการออมเงินเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในหมู่บ้านและนำเงินไปสนับสนุนในการทำอาชีพเสริมต่าง ๆ ให้แก่หมู่บ้าน หรือส่งเสริมอาชีพในครัวเรือน  เช่น     กลุ่มสตรีโต๊ะจีน   กลุ่มปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ กลุ่มทำน้ำพริก   การปลูกผักในครัวเรือน/จำหน่าย  และมีการส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรใช้พันธ์ข้าว และเมล็ดพันธ์ที่ดี
  3. ด้านการประหยัด     ส่งเสริมให้มีการออมเงินสัจจะเพิ่มขึ้น ส่งเสริมสนับสนุนการทำปุ๋ย  ยา เพื่อการประกอบ อาชีพการเกษตรและใช้ในครอบครัว มีการรณรงค์ ลด ละเลิก อบายมุข  ส่งเสริมครัวเรือนปลูกพืชผักสวนครัว เป็ดไข่  ไก่   เลี้ยงปลา  เลี้ยงกบ    ไว้บริโภคเองและจำหน่าย
  4. ด้านการเรียนรู้    มีแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้ในด้านการประกอบอาชีพ   ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการบริหารจัดการเงินทุน ด้านการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ   การทำไร่ผัก  พริก  มะพร้าว  มะนาว  ถั่วฝักยาว   แตงร้าน  ซึ่งคนในชุมชนสามารถเรียนรู้  ปฏิบัติและนำไปใช้ได้ นอกจากนี้ยังมีการเข้าอบรมตามที่หน่วยงานจัด และได้ไปศึกษาดูงานกลุ่มอื่นที่แตกต่าง หรือเหมือนกับหมู่บ้านตน เพื่อนำมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นแหล่งที่ให้การศึกษาดูงานจากหมู่บ้านอื่น อำเภอและจังหวัดอื่น ดังนั้นจึงได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอยู่เสมอ
  5. ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน  ชุมชนส่งเสริมให้ครัวเรือนปลูกต้นไม้ทดแทนที่ได้ใช้ไป เช่น  ต้นไผ่  ไม้ผล   มีการปลูกต้นไม้ริมสันเขื่อน  ริมคลองตลอดแนว และให้ประชาชนช่วยกันดูแลต้นน้ำและลำธาร เพื่อเป็นการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดีอยู่เสมอ  ส่งเสริมให้คนในชุมชนใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ แทนปุ๋ยเคมี  ลดการใช้สารเคมี  และรณรงค์การกำจัดขยะมูลฝอยของแต่ละครอบครัว
  6. ด้านการเอื้ออารีต่อกัน ได้จัดสวัสดิการจากกองทุน/กลุ่ม ต่าง ๆ ภายในหมู่บ้าน   เพื่อเป็นการช่วยเหลือดูแล ผู้ด้อยโอกาส  ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  จัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้มีความสุขโดยให้ลูกหลานได้ร่วมกิจกรรมพร้อม ๆ กัน  เช่น การรดน้ำขอพรผู้สูงอายุในวันสงกรานต์ทุกปี  การทำบุญกลางบ้านทุกปี เพื่อการพัฒนาจิตใจแต่ประชากรในพื้นที่ก็จะไปทำบุญกันอย่างสม่ำเสมอที่วัดสุนทรประดิษฐ์    

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เสื้อผ้าสไตล์วินเทจ


  • เสื้อเลขาคณิตสไตล์วินเทจ มี 3 สี 
  • ผ้าชีฟอง
  • ขนาด 
    อก35-เอว25-ยาว52
  • ราคา 220 บาท







  • ดรสชีฟองลายวินเทจ สีดำ
  • ผ้าชีฟอง
  • ขนาด อก35-เอว25-ยาว52
  • ราคา 220 บาท