วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

งานประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ จังหวัดสุรินทร์


ประเพณีแซนโฎนตา






งานประเพณีแซนโฎนตา ชาวสุรินทร์ร่วมกันประกอบพิธีแซนโฏนตา บูชาบรรพบุรุษยิ่งใหญ่ เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ บรรพบุรุษ ประเพณีที่มีความสำคัญ ของชาวไทยเชื้อสายเขมร และชาวกูย ในจังหวัดสุรินทร์ ที่ถือปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนานนับพันปี

งานประเพณีแซนโฎนตา จังหวัดสุรินทร์
งานประเพณีแซนโฎนตา นับเป็นงานประเพณีที่สำคัญของชาวจังหวัดสุรินทร์ โดยจะมีการถือปฏิบัติขึ้นทุกปี เป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และเป็นการแสดงออกถึงความรัก ความเอื้ออาทรต่อบุพการีผู้มีพระคุณ โดยถือกำหนดจัดขึ้นในแรม 14 เดือน 10 โดยชาวสุรินทร์เมื่อถึงวันจะพร้อมใจกันหยุดภาระกิจการงานและจะร่วมกันเซ่น ไหว้ขึ้นที่บ้านแต่ละบ้าน โดยยึดบ้านที่อาวุโสที่สุดของครอบครัว





ชาวสุรินทร์เชื้อสายเขมร เชื่อว่า การประกอบ
ประเพณีแซนโฎนตา เป็นการที่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป เชื่อว่าทำให้ทุกข์เวทนาจากบวงกรรมมีความบรรเทาเบาบางลง จึงให้มีการจัดพิธีแซนโฎนตา ขึ้นและให้มีการสืบทอดต่อๆกันมา ลูกหลานต้องปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันมาถึงทุกวันนี้ ถ้าญาติหรือลูกหลานประกอบพิธีแซนโฎนตา และทำบุญอุทิศให้ เชื่อว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จมี เงินมีทองใช้ แต่ถ้าไม่ทำพิธีแซนโฎนตา ญาติที่ล่วงลับไป ก็จะโกรธและสาปแช่งญาติหรือลูกหลานไม่ให้มีความสุขความเจริญประกอบอาชีพฝืด เคือง ไม่ราบรื่น ดังนั้นลูกหลานของชาวไทยเชื้อสายเขมรทุกรุ่นจึงต้องประกอบพิธีแซนโฎนตามา ทุกปีจนถึงปัจจุบันนี้

พิธีแซนโฎนตา
  
ซ่นไหว้บูชาบรรพบุรุษ ประกอบด้วยพิธีการทางศาสนา กราบพระ การบูชาพระรัตนตรัย จากนั้นเป็นการรำเซ่นไหว้ บูชาบรรพบุรุษ และพิธีแซนโฎนตา เซ่นไหว้ บรรพบุรุษ โดยชาวจังหวัดสุรินทร์ ที่นำเครื่องเซ่นไหว้ มาร่วมพิธี ก็จะจุด เทียน ธูป เซ่นไหว้ บรรพบุรุษ ด้วยการเทเหล้า น้ำหวาน น้ำดื่ม พร้อมเรียก ดวงวิญญาณ ของบรรพบุรุษ มารับอาหารที่ลูกหลาน ได้นำมาเซ่นไหว้ จากนั้นพระสงฆ์ ได้สวดมาติกา บังสุกุล เป็นอุทิศส่วนกุศล ให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว ต่อจากนั้น พระสงฆ์ได้ให้พร แก่ญาติโยมที่มาร่วมพิธีแซนโฎนตา เซ่นไหว้บรรพบุรุษ เป็นอันเสร็จพิธี
ของที่ใช้เส้นไหว้บรรพบุรุษ



วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง


หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง




  •     หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชน ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมือง       จังหวัดสุรินทร์




ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ผัก   มีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพ หลากหลายกลุ่ม โดยคนในหมู่บ้านมีการร่วมกันเป็นสมาชิกกลุ่มกองทุนต่าง ๆ  ได้แก่   กลุ่มออมเงินสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิต    กองทุนหมู่บ้าน   กลุ่มอาชีพแม่บ้าน    กลุ่มเกษตรกร   และได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจาก อบต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้บ้านวังกุ่ม  ยังมีกิจกรรมที่สามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว เช่น  การปลูกพืชผักสวนครัว     การเพาะเห็ดฟาง  การปลูกผัก    การเลี้ยงปลา  การเลี้ยงเป็ดไข่  ห่าน  กระต่าย   สำหรับบริโภคหรือ นำไปขาย   การทำจักสาน   น้ำพริก   ปุ๋ยหมักชีวภาพ   และยังมีการปลูกต้นไม้ตามลำคลองน้ำ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ





หมู่บ้านได้ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำรงชีวิต 
  1. ด้านการลดรายจ่าย โดยการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกผัก ผลไม้ไว้บริโภค และมีเหลือจะนำไปขาย หรือแปรรูปไว้บริโภคและจำหน่าย  และมีการรวมกลุ่มเพื่อผลิตปุ๋ยชีวภาพ   น้ำส้มควันไม้ในการไล่แมลง   เพื่อเป็นลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ยังเป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด รณรงค์การลด ละ เลิก อบายมุข  และมีการจัดทำบัญชีรับ – จ่ายครัวเรือนเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
  2. ด้านการเพิ่มรายได้   มีการส่งเสริมครัวเรือนให้ประกอบอาชีพเสริม เช่น ทำนาและทำไร่ผัก  มีการรวมกลุ่มมีการส่งเสริมให้มีการออมเงินเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในหมู่บ้านและนำเงินไปสนับสนุนในการทำอาชีพเสริมต่าง ๆ ให้แก่หมู่บ้าน หรือส่งเสริมอาชีพในครัวเรือน  เช่น     กลุ่มสตรีโต๊ะจีน   กลุ่มปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ กลุ่มทำน้ำพริก   การปลูกผักในครัวเรือน/จำหน่าย  และมีการส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรใช้พันธ์ข้าว และเมล็ดพันธ์ที่ดี
  3. ด้านการประหยัด     ส่งเสริมให้มีการออมเงินสัจจะเพิ่มขึ้น ส่งเสริมสนับสนุนการทำปุ๋ย  ยา เพื่อการประกอบ อาชีพการเกษตรและใช้ในครอบครัว มีการรณรงค์ ลด ละเลิก อบายมุข  ส่งเสริมครัวเรือนปลูกพืชผักสวนครัว เป็ดไข่  ไก่   เลี้ยงปลา  เลี้ยงกบ    ไว้บริโภคเองและจำหน่าย
  4. ด้านการเรียนรู้    มีแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้ในด้านการประกอบอาชีพ   ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการบริหารจัดการเงินทุน ด้านการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ   การทำไร่ผัก  พริก  มะพร้าว  มะนาว  ถั่วฝักยาว   แตงร้าน  ซึ่งคนในชุมชนสามารถเรียนรู้  ปฏิบัติและนำไปใช้ได้ นอกจากนี้ยังมีการเข้าอบรมตามที่หน่วยงานจัด และได้ไปศึกษาดูงานกลุ่มอื่นที่แตกต่าง หรือเหมือนกับหมู่บ้านตน เพื่อนำมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นแหล่งที่ให้การศึกษาดูงานจากหมู่บ้านอื่น อำเภอและจังหวัดอื่น ดังนั้นจึงได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอยู่เสมอ
  5. ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน  ชุมชนส่งเสริมให้ครัวเรือนปลูกต้นไม้ทดแทนที่ได้ใช้ไป เช่น  ต้นไผ่  ไม้ผล   มีการปลูกต้นไม้ริมสันเขื่อน  ริมคลองตลอดแนว และให้ประชาชนช่วยกันดูแลต้นน้ำและลำธาร เพื่อเป็นการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดีอยู่เสมอ  ส่งเสริมให้คนในชุมชนใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ แทนปุ๋ยเคมี  ลดการใช้สารเคมี  และรณรงค์การกำจัดขยะมูลฝอยของแต่ละครอบครัว
  6. ด้านการเอื้ออารีต่อกัน ได้จัดสวัสดิการจากกองทุน/กลุ่ม ต่าง ๆ ภายในหมู่บ้าน   เพื่อเป็นการช่วยเหลือดูแล ผู้ด้อยโอกาส  ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  จัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้มีความสุขโดยให้ลูกหลานได้ร่วมกิจกรรมพร้อม ๆ กัน  เช่น การรดน้ำขอพรผู้สูงอายุในวันสงกรานต์ทุกปี  การทำบุญกลางบ้านทุกปี เพื่อการพัฒนาจิตใจแต่ประชากรในพื้นที่ก็จะไปทำบุญกันอย่างสม่ำเสมอที่วัดสุนทรประดิษฐ์